หน้าที่การทำงานของนักสังคมสงเคราะห์ วิชาชีพอันเป็นศิลปะแห่งการช่วยเหลือและเป็นการใช้สามัญสำนึกในการช่วยเหลือในสถานการณ์ โดยมีหน้าที่หลัก ดังนี้
- ให้คำปรึกษาแนะนำผู้มารับการช่วยเหลือจากองค์กร
- ปฏิบัติหน้าที่หลักตามนโยบายของหน่วยงานหรือองค์กรนั้นๆ
- ประสานงานกับผู้มารับบริการ และหน่วยงานหรือองค์กรบริการทางสังคมที่ผู้รับบริการต้องเกี่ยวข้องด้วย หรือต้องการความช่วยเหลือ เช่น การสอบถามซักประวัติ เพื่อให้ทราบว่าผู้มารับบริการมีความเดือดร้อนเรื่องใด และต้องจัดส่งไปยังหน่วยงานที่ให้การบริการต่างๆ เช่น หาอาชีพที่เหมาะสม หาทุนประกอบอาชีพ แหล่งที่พัก โรงพยาบาลและสวัสดิการอื่นๆ ที่จำเป็น
- ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการแก้ปัญหาที่ค่อนข้างยากแก่นักสังคมสงเคราะห์ของ หน่วยงานต่าง ๆ
- อาจทำหน้าที่ตามความเชี่ยวชาญ และตามการให้การบริการขององค์กร (Case Workers) เช่น
- ดูแลปัญหาครอบครัวแตกแยกปัญหาเกี่ยวกับ สวัสดิการของ ครอบครัว อาชีพของบุคคลในครอบครัว
- ดูแลเด็กผู้ด้อยโอกาสและรับเข้าอยู่ในสถาบันและบ้านสงเคราะห์ การให้ สวัสดิการแก่เด็ก
- ให้สวัสดิการแก่ผู้ป่วยทางด้านจิตใจทางร่างกายหรือผู้พิการ การอบรมทางสังคมแก่ผู้ได้รับทัณฑ์บน และการช่วยเหลือผู้อพยพ
คุณสมบัติของนักสังคมสงเคราะห์ :
ผู้สนใจประกอบอาชีพนี้ จะต้องมีคุณสมบัติทั่วไป ดังนี้
- สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ หรือคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม
- มีใจรัก ชอบช่วยเหลือ เพราะงานสังคมสงเคราะห์ คือ การบริการ ให้ความช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์
- เป็นคนเปิดกว้าง มองโลกในแง่ดี มีทัศนะคติที่ดีต่อผู้คนและต่อปัญหา
- เป็นบุคคลที่เปิดรับต่อประมวลปัญหาที่ต้องเข้าไปแก้ไข
- มีลักษณะอบอุ่น มนุษยสัมพันธ์ดี และเข้ากับชุมชนได้ดี
- มีทักษะใช้คอมพิวเตอร์พื้นฐาน Microsoft Office ได้ดี